รวมรายชื่อ แอปดูดเงิน!!! เช็กด่วนก่อนเงินหมดบัญชี

Last updated: 10 ก.พ. 2566  |  17981 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รวมรายชื่อ แอปดูดเงิน!!! เช็กด่วนก่อนเงินหมดบัญชี

กระทรวงดีอีเอส เปิดรายชื่อ แอปอันตรายดูดเงิน! 203 แอป เตือนประชาชนให้ระมัดระวังในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่างๆ ลงบนโทรศัพท์มือถือ เพราะอาจจะไปเจอมัลแวร์อันตรายได้ เพราะหากมีการโหลดเข้าไปในเครื่องก็จะมีโอกาสที่จะถูกดูดข้อมูลส่วนบุคคล หรือถูกรีโมทเข้ามาควบคุมมือถือของท่าน ซึ่งถ้ามีเกี่ยวกับการเงินก็อาจจะถูกโอนเงินออกไป
 
 
 
วิธีสังเกตว่ามีแอปฯ ดูดเงินแฝงอยู่ในมือถือหรือไม่
 
  • แอปฯ ต่าง ๆ อาจค้างหรือหยุดทำงานแบบไม่มีเหตุผล
  • เครื่องมีอาการช้าและอืดกว่าเดิมมาก
  • แบตเตอรี่หมดเร็วกว่าปกติ เพราะแอปฯ ดูดเงินจะใช้ทรัพยากรในเครื่องหนักขึ้น เป็นต้น

 

คำแนะนำเรื่องแอพดูดเงินจากมือถือเพราะเป็นต้นตอหรือสาเหตุของการถูกแฮคข้อมูลมากที่สุด
 
  • ไม่คลิกลิงก์จาก SMS, LINE และ อีเมลที่มีแหล่งที่มาที่ไม่รู้จักหรือไม่น่าเชื่อถือ
  • ไม่ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นแปลกปลอม นอกเหนือจากแหล่งที่ได้รับการควบคุมและรับรองความปลอดภัยจากผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่เป็น Official Store อาทิ Play Store หรือ App Store เท่านั้น
  • อัปเดตระบบปฏิบัติการมือถือ (ทั้ง IOS/Android) และ Mobile Banking แอพให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ หรือตั้งค่าให้มีการอัปเดตแบบอัตโนมัติ ซึ่งจะมีมาตรการป้องกันการควบคุมเครื่องทางไกลรวมถึงมีการปรับปรุงพัฒนาระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ
  •  ไม่ใช้เครื่องโทรศัพท์มือถือที่ไม่ปลอดภัยมาทำธุรกรรมทางการเงิน อาทิ เครื่องที่ปลดล็อก (root/jailbreak) เพื่อให้สามารถติดตั้งแอปพลิเคชันใด ๆ ก็ได้ หรือใช้เครื่องที่มีระบบปฏิบัติการล้าสมัย เป็นต้น
  • สังเกตที่มาของข้อความที่ได้รับ
  • หากได้รับข้อความใด ๆ เกี่ยวกับธุรกรรมการเงิน ไม่ว่าจะทางอีเมลหรือ SMS ควรตรวจให้ดีว่าส่งมาจากธนาคารจริง ๆ หรือไม่ หรือถ้าหากมีลิงก์ให้กดเข้าเว็บไซต์ ต้องเช็กชื่อเว็บว่าถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากมิจฉาชีพจะตั้งชื่อเว็บไซต์ที่คล้ายกับเว็บจริงมาก และข้อสำคัญก็คือ URL ควรขึ้นต้นด้วย https:// เท่านั้น
  • ระวังก่อนกรอกข้อมูลสำคัญ หากพบแอปฯ เว็บไซต์ หรือมี POP-UP เด้งขึ้นมาบอกให้กรอกข้อมูลสำคัญอย่างเช่น ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชน เลขหลังบัตรประชาชัน เลขบัตรเครดิต และอื่น ๆ ควรเช็กดูให้แน่ใจเสียก่อนว่าแอปฯ หรือเว็บไซต์เหล่านั้นสามารถเชื่อถือได้หรือไม่ นอกจากนี้หากเป็นลิงก์ที่ล่อลวงด้วยการบอกว่าจะได้รับเงินหรือรางวัล ให้ระวังไว้ก่อนเลยว่าอาจเป็นการหลอกลวง อย่าให้ข้อมูลใด ๆ เด็ดขาด
  • ไม่ใช้ Wi-Fi สาธารณะเมื่อต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตนอกสถานที่ ควรใช้อินเทอร์เน็ตจากมือถือของตัวเองเท่านั้น หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ โดยเฉพาะเมื่อต้องเข้าเว็บไซต์ที่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือแอปพลิเคชันธนาคาร เพราะมิจฉาชีพอาจติดตั้ง Wi-Fi ปลอมไว้เพื่อดักขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเรา
  • ควรใช้สายชาร์จมือถือของตัวเอง เดี๋ยวนี้มีสายชาร์จโทรศัพท์ที่ฝังตัวส่งสัญญาณไร้สาย Access Point เอาไว้ เมื่อเหยื่อเสียบสายชาร์จเข้ากับอุปกรณ์ หรือโทรศัพท์มือถือ แล้วพิมพ์รหัสผ่านหรือข้อมูลต่าง ๆ ข้อมูลเหล่านี้ก็จะถูกส่งไปให้มิจฉาชีพได้ หรืออาจจะถูกส่ง Malware อันตรายเข้ามาในเครื่องของเรา ดังนั้น ไม่ควรยืมสายชาร์จของคนอื่นมาใช้ รวมทั้งไม่ใช้สายชาร์จที่วางอยู่ตามจุดชาร์จมือถือในที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า, โรงแรม, สถานีโดยสารต่าง ๆ
  • ใช้มือถือ 2 เครื่อง อีกวิธีหนึ่งที่น่าสนใจคือ การใช้โทรศัพท์มือถือ 2 เครื่อง เครื่องหลักสำหรับใช้งานทั่วไป เช่น คุยโทรศัพท์ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เล่นเกม และรับรหัส OTP เครื่องที่ 2 ใช้สำหรับติดตั้งแอปฯ ธนาคารโดยเฉพาะ ไม่ติดตั้งแอปฯ อื่น ปิดอินเทอร์เน็ตเมื่อไม่ใช้งาน จะเปิดใช้ก็ต่อเมื่อต้องการทำธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น และให้ใช้เบอร์โทร. ของเครื่องหลักเป็นเบอร์ที่รับรหัส OTP

 
วิธีลดความเสียหาย จากแอปดูดเงิน
 
1. ไม่ฝากเงินจำนวนมาก ๆ ไว้ใน Mobile Banking
ใช้วิธีฝากกับบัญชีปกติที่มีสมุดและไม่ได้ผูกกับแอปฯ ธนาคารใด ๆ เมื่อต้องการใช้เงินค่อยไปเบิกถอนที่หน้าเคาน์เตอร์ธนาคาร วิธีนี้แม้จะไม่สะดวกในการใช้จ่าย แต่ช่วยลดความเสียหายหากถูกคนร้ายรีโมตมาขโมยเงินในมือถือของเราได้

2. จำกัดวงเงินเบิกถอนต่อวัน ให้ไม่มากเกินไป โดยแนะนำให้กำหนดวงเงินไว้แค่ที่คิดว่าต้องการจะใช้เท่านั้น หรืออาจกำหนดวงเงินเป็น 0 บาทไว้ก่อน เวลาเราจะถอนหรือโอนค่อยเข้าไปตั้งค่าปรับเปลี่ยนวงเงินใหม่ทุกครั้ง

3. กระจายเงินไว้หลาย ๆ แห่ง ที่ไม่ได้ผูกแอปฯ ธนาคารแบ่งเงินบางส่วนไปเก็บไว้ในช่องทางอื่น ๆ เช่น เงินฝากประจำ สลากออมทรัพย์ หุ้นกู้ กองทุนรวม หรือโอนเงินเข้าไปไว้ในบัญชีหลักทรัพย์ ฯลฯ ซึ่งถอนเงินออกมาได้ยากกว่า

4. ไม่ใช้รหัส หรือ PIN เดียวกันกับทุกแอปฯ และไม่ควรนำข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเกิด ทะเบียนรถ บ้านเลขที่ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ มาตั้งเป็นรหัสเด็ดขาด
 
 
 
 
 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้