กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ป้องกันได้หรือไม่

Last updated: 15 ก.พ. 2566  |  317 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ป้องกันได้หรือไม่

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ocular Myasthenia Gravis) เป็นภาวะที่เปลือกตาหรือกล้ามเนื้อยึดลูกตาอ่อนแรงหลังจากใช้งานไประยะหนึ่ง

 

อาการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

หนังตาตกทำให้เลิกหน้าผากขึ้นเพื่อยกคิ้วทำให้เปลือกตาไม่ลงมาบังการมองเห็นฃ
โฟกัสภาพไม่ได้ 
เกิดภาพซ้อน ลักษณะคือเห็นภาพ 2 ภาพเหลื่อมกันหรือเห็นภาพแยกออกจากกัน เนื่องจากแนวการมองของดวงตาทั้งสองข้างไม่มองไปในตำแหน่งเดียวกัน แต่หากคนไข้ปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง ภาพซ้อนดังกล่าวจะหายไป

 

สาเหตุการเกิดโรคกล้ามเนื้อตาออ่อนแรง

เกิดจากการที่ร่างกายของเราสร้างระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติขึ้นมา โดยจะมีภูมิคุ้มกันอยู่จำพวกหนึ่งที่ชอบเข้าไปแย่งสารสื่อประสาทกับตัวรับบริเวณกล้ามเนื้อ ทำให้สารสื่อประสาทที่หลั่งออกมาจากเส้นประสาททำงานได้น้อยลง กล้ามเนื้อจึงอ่อนแรงลงตามระยะเวลาการใช้งานและสารสื่อประสาทที่ลดลง สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยปกติแล้วมักเกิดขึ้นกับคนในผู้หญิงช่วงวัย 20-40 ปี แต่ในผู้ชายจะพบหลัง 50 ปี 

 

การรักษา

รักษาได้ด้วยการให้ยา และด้วยการผ่าตัด แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดหนังตาให้ผลการรักษาที่ไม่แน่นอน โดยก่อนการผ่าตัดหนังตาควรสังเกตอาการต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อเข้ารับการปรึกษากับจักษุแพทย์

 

 

 

ข้อมูลอ้างอิง www.sanook.com www.chula.ac.th chulalongkornhospital.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้