อาการ "ตาแห้ง" อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร

Last updated: 16 ก.พ. 2566  |  451 จำนวนผู้เข้าชม  | 

อาการ "ตาแห้ง"  อันตรายหรือไม่ รักษาอย่างไร

ตาแห้ง เป็นเป็นภาวะที่ปริมาณน้ำตาไม่เพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวตา พบได้บ่อยกับทุกเพศทุกวัย อาการตาแห้งไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก่อปัญหากวนใจในการใช้ชีวิตได้ไม่น้อย แต่การปล่อยทิ้งไว้ในระยะยาวโดยไม่ทำการรักษาจะทำให้อาการเคืองตารุนแรงยิ่งขึ้นถึงขั้นอักเสบเรื้อรังรุนแรงจนเสี่ยงต่อการตาบอดได้  

 

สาเหตุของอาการตาแห้ง
  • จากพันธุกรรม
  • น้ำในตาแห้งกว่าปกติอยู่แล้ว
  • ต่อมน้ำตาเสื่อม
  • ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล
  • การใส่คอนแทคเลนส์ที่ไม่เหมาะสม ไม่ได้มาตรฐาน ค่าอมน้ำไม่เพียงพอ หรือใส่คอนแทคเลนส์ติดต่อกันนานเกิน 6-8 ชั่วโมง
  • มีอาการภูมิแพ้ที่ตา โดยอาจเกิดจากฝุ่น ควัน อากาศภายนอกที่แห้ง เย็น และอื่นๆ
  • การจ้องหน้าคอมพิวเตอร์ และสมาร์ทโฟนมากเกินไป
  • การใช้ยาบางประเภท ที่ส่งผลข้างเคียงทำให้ตาแห้ง เช่น ยาคุมกำเนิด ยาแก้แพ้ ยาต้านอาการซึมเศร้า ยาลดความดันโลหิตบางประเภท 

 

ข้อควรปฏิบัติเพื่อการป้องกัน
  • หลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะตาแห้ง
  • ผู้มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจเช็คสุขภาพตา อย่างน้อยปีละครั้ง
  • ใช้น้ำตาเทียม เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นกับดวงตาและบรรเทาอาการตาแห้ง กรณีอาการตาแห้งไม่ดีขึ้นควรพบจักษุแพทย์โดยด่วน
  • หยุดพักใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือทุก ๆ 20 นาที โดยหลับตาประมาณ 20 วินาที หรือมองไกล ๆ ประมาณ 20 ฟุตจะทำให้สบายตามากขึ้น 
  • งดการใช้คอนแทคเลนส์ต่อเนื่อง ควรมีการหยุดพักโดยใส่แว่นสลับ
  • ใช้งานคอมพิวเตอร์หรือมือถือในที่ ๆ มีแสงสว่างเพียงพอ 
  • กะพริบตาให้บ่อย เพื่อให้น้ำตาได้เคลือบตาอยู่เป็นระยะ ๆ 
  • หากอยู่ในที่ที่มีอากาศแห้ง ร้อน ลมแรง แนะนำให้สวมแว่นเพื่อกันแดดกันลม
  • กินอาหารให้ครบทุกหมู่และอาหารที่มีโอเมกา 3 (Omega 3 Fatty Acid) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ อาจช่วยลดการอักเสบบรรเทาอาการตาแห้งได้



 

ข้อมูลอ้างอิง www.sanook.com www.thonburihospital.com www.bangkokhospital.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้